G-Shock 40th Anniversary

G-SHOCK

เพื่อต้อนรับการเฉลิมฉลองครอบรอบ 40 ปีที่กำลังจะมาถึงในปี 2023 วันนี้ผมขอพาย้อนกลับไปตั้งแต่วันที่เริ่มถือกำเนิดในปี 1983

ใครจะไปรู้ครับ ว่าความเสียใจ ความผิดหวัง จะกลับกลายเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ 

ที่ทำให้ 'คิคุโอะ อิเบะ' สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการนาฬิกาข้อมือเมื่อสี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา และลุกลามบานปลายมาจนถึงปัจจุบัน

ซึ่งทำให้คุณและผมกระเป๋าตังค์อักเสบกันทุกเดือน ด้วยยอดขายถล่มทลายครบพันล้านเรือนทั่วโลกเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง

G-SHOCK นาฬิกาสุดแกร่งในปฐพี

นับตั้งแต่เปิดตัวรุ่นแรกในปี 1983 ในรุ่น DW-5000C จีช็อคก็ปฎิวัติข้อจำกัดการใช้งานของนาฬิกาข้อมือในยุคนั้นโดยสิ้นเชิงด้วย

คุณสมบัติกันแรงกระแทก (Shock) ที่นาฬิกาจักรกลในยุคนั้นทำไม่ได้ แต่นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ซึ่งต่อยอดมาจนถึงปัจจุปัน

G-SHOCK ให้ความสำคัญหลักกับโครงสร้าง, วัสดุ, ฟังก์ชั่น และดีไซน์

โครงสร้างพัฒนาสู่สุดยอดของความทนทาน

1983

เริ่มเปิดตัวด้วยโครงสร้างที่ออกแบบมาให้รับแรงกระแทกได้รอบทุกทิศทาง (Shock-resistant)

1995

กรอบสายตัวเรือน กันโคลน กันฝุ่น (Mud-resistant)

2012

เสริมโครงสร้างด้วยอัลฟ่าเจล(Alpha Gel)ในตัวเรือนทำเพื่อดูดซับแรงและป้องกันการสั่นสะเทือนได้เหนือกว่าเดิม

2013

เสริมโครงสร้างหุ้มเคสอีก  1 ชั้นจากภายนอก (Core Guard Structure)

2014

ออกแบบเม็ดมะยมใหม่ (Clad Guard Structure) และเสริมด้วยอัลฟ่าเจล (Alpha Gel)

2017

เสริมเรซิ่นระหว่างขอบบาเซิลกับตัวเรือนด้านหน้าช่วยลดแรงกระแทก (Carbon Bezel)

2018

กรอบโลหะปั๊มขึ้นรูปพร้อมเรซิ่นกันกระแทกระหว่างกรอบกับตัวเรือน (Full-metal shock-resistant structure)

2019

ตัวถังและกรอบคาร์บอนไฟเบอร์ สุดแกร่งแต่มีน้ำหนักเบา (Carbon core guard structure)

2021

ดีไซน์สปริงบาร์ใหม่ สายสามาถรถอดเปลี่ยนได้ง่ายกว่าเดิม (Slide lever changeable band)


วัสดุที่พัฒนาเพื่อความสวยงาม และสู่ความทนทานที่แข็งแกร่ง

1983

กรอบสายผลิตจากยูรีเทนเรซิน ซึ่งมีน้ำหนักเบาออกแบบได้หลายรูปทรงและสีสัน (Urethane resin)

1996

ใช้วัสดุที่เป็นโลหะสามารถขึ้นรูปเป็นกรอบและสายได้ทั้งตัว (Full-metal Case)

1999 

ผสมผสานทั้งโลหะและเรซิ่น เพิ่มความสวยงาม (Metal Twisted Design)

2010

ผลิตสายจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งแข็งแรงทนทานกว่าเรซิ่น (Carbon-fiber Insert Band)

2015

กรอบไททาเนี่ยม 64 ซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่าไททาเนียมทั่วไปแต่ยังคงแข็งแกร่งและน้ำหนักเบา (Titanium 64 Bezel)

2017

ผลิตขอบบาเซิลจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ได้สำเร็จ จากเทคโนโลยีที่คาสิโอพัฒนาขึ้น (Carbon Bezel)

2019

ผลิตตัวเรือนจากจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ที่แข็งแรงและน้ำหนักเบากว่าเดิม ผสมผสานกับวัสดุเรซิ่นเพื่อความสวยงามและคงทนกว่าเดิม (Carbon fiber reinforced resin case)

2020

ผลิตสายเรซิ่นที่พัฒนาขึ้น เรียกพลาสสติกชนิดนี้ว่าฟลูออโรอิลาสโตเมอร์ ทำให้สวมใส่สบายกว่าเดิมเพิ่มความกระชับ และทนทานต่อคราบสกปรกต่างๆจากการใช้งาน (Fluoroelastomer Band)

2021

โลหะผสมชนิดใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากไทเทเนียม ผิวแข็งและมันวาวเหมือนกระจก และสีสันที่หลากหลาย น้ำหนักเบา ทั้งยังแข็งแกร่งกว่าไทเทเนียมทั่วไป (Titanium Alloy)

2022

ช่วยลดโลกร้อนนำวัสดุมาจากธรรมชาติมาผลิตกรอบและสาย (Biomass plastic)

ฟังก์ชั่น

1992

เริ่มพัฒนาและติดเซ็นเซอร์ขนาดเล็กที่ทำให้นาฬิกาสามารถ วัดอุณหภูมิ ความสูง ความกดอากาศ (Sensor Technologies)

1994

ไฟพื้นหลังที่หน้าปัดอันโด่งดัง สวยงามและใช้งานมาจนถึงทุกวันนี้ (EL Backlight)

2002

ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (G-Shock Tough Solar) และปรับเวลาอัตโนมัติด้วยคลื่นวิทยุ (Radio-controlled)

2010

เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนผ่านแอปพลิแคชัน (Smartphone Link)

2014

ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนโลกไปนี้ ที่สัญญาณดาวเทียมไปถึง นาฬิกาจะตั้งเวลาโดยอัตโนมัติ ณ ตำแหน่งที่อยู่ในปัจจุบัน พร้อมระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ถูกพัฒนาขึ้นกว่าเดิมอีกระดับ (GPS Hybrid Radio-controlled,Solar-powered Timekeeping*3)

2017

รวมฟังก์ชั่นการใช้งาน Bluetooth, GPS Hybrid Radio-controlled และ Solar-powered มาอยู่ในที่เดียวกัน

2022

ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และบูลธูทเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนที่เก่งกว่าเดิม

ดีไซน์

1983

เปิดตัว G-Shock ทรงเหลี่ยมสุดคลาสสิคตลอดกาล (Square Design)

1989

นาฬิกาสองระบบทั้งอะนาล็อก และ ดิจิตอล (Analog Design)

1993

ความตั้งใจที่จะออกแบบให้สวมใส่สบายขึ้น (Asymmetrical Design) แต่กลับออกมาเป็น G-Shock FrogMan จนถึงทุกวันนี้

1996

เริ่มใส่ตัวป้องกันกระจกจากการใช้งาน (Bumper Protector)

2010

ออกแบบหน้าปัดที่ซับซ้อนขึ้นดูมีมิติ รวมระบบทั้งเข็มและดิจิตอลให้ทำงานสอดคล้องกันมากขึ้น (3D Face Design)

2017

ออกแบบหน้าปัดเข็มล้วนเล่นระดับดูมีมิติแต่แฝงความคลาสสิค แต่ทำงานในระบบติจิตอล (Disc Dial Chronograph)

2019

ออกแบบสีโลหะด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า  (Rainbow IP)

2021

นำเอาคาร์บอนไฟเบอร์มาออกแบบรวมกันได้หลากสีทำให้นาฬิกาดูไม่เหมือนเดิมในมุมมองที่แตกต่างกันสวยงามและสะดุตตา

ที่มา

https://gshock.casio.com/intl/40th/philosophy/

สนใจติดต่อเรา!

ขายจีช็อค

รับซื้อจีช็อค

https://lin.ee/mCV4BI7
ID: @GshockMuesong
IG: @pairojsaelee
เบอร์โทรศัพย์ 064-865-4077

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น

FanPage